เมนู

ติดในรสทั้งหลายเสียได้ เป็นผู้ไม่เลี้ยงผู้อื่น เพราะไม่ให้เกิดอัตภาพอื่น
อันมีตัณหาเป็นมูลต่อไป.
อีกอย่างหนึ่ง กิเลสทั้งหลายท่านเรียกว่า ผู้อื่น เพราะอรรถว่า
หักรานประโยชน์ อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่าไม่เลี้ยงผู้อื่น
เพราะไม่เลี้ยงกิเลสเหล่านั้น. บทว่า สปทานจารี เที่ยวไปตามลำดับตรอก
คือไม่เที่ยวแวะเวียน คือเที่ยวไปตามลำดับ. อธิบายว่า ไม่ทิ้งลำดับเรือน
เข้าไปบิณฑบาตตามลำดับทั้งตระกูลมั่งคั่งและตระกูลยากจน. บทว่า กุเส
กุเล อปฺปฏิพทฺธจิตฺโต
มีจิตไม่ผูกพันในตระกูล ความว่า มีจิตไม่
เกี่ยวข้องด้วยอำนาจกิเลสในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง บรรดาตระกูลกษัตริย์
เป็นต้น. เปรียบเหมือนพระจันทร์ใหม่อยู่เป็นนิจ. บทที่เหลือมีนัย
ดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบคาถาที่

คาถาที่ 2


32) ปหาย ปญฺจาวรณานิ เจตโส
อุปกฺกเลเส พฺยปนุชฺช สพฺเพ
อนิสฺสิโต เฉตา เสฺนหโทสํ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ละ ธรรมเป็นเครื่องกั้นจิต 5
อย่าง บรรเทาอุปกิเลสทั้งปวง ผู้อันทิฏฐิไม่อาศัย ตัด
ความรักและควานชังได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.